นางสาวมนสิชา ศิลปสิทธิ์

นางสาวมนสิชา ศิลปสิทธิ์

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30-12:20


                          เวลาเข้าสอน 08 : 30 เวลาเข้าเรียน 08 : 25 เวลาเลิกเรียน 11.00


    วันนี้เพื่อนๆนำเสนออีกรอบ

 กลุ่มที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
   



ก่อนการนำเสนอร่วมกันร้องเพลง


เพลง ออกกำลังกาย
กระโดดขึ้นส่ายตัวไป  แล้วหมุนตัวไปรอบๆ
ชูมือซ้าย  ชูมือขวา แล้วตบมือพร้อมกัน 
1 2 3 4 , 567, 8 9 10

******กลุ่มของดิฉันนำเกมมานำเสนอหน้าชั้นเรียนและให้เพื่อนเล่นทั้งหมด 2 เกม คือ เกมต่อหัวสัตว์ และเกมการเปรียบเทียบผลไม้ที่ขนาดต่างกัน
  สรุปการนำเสนอ

- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดู อารบิก และตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดู อารบิก และตัวเลขไทย
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวนการรวมและการแยกกลุ่ม
- การรวมสิ่งต่างๆ สองกลุ่มที่มีผลรวมได้เกิน 10
- การแยกกลุ่มย่อมออกจากกลุ่มใหญ่

                     กลุ่มที่ 2 พีชคณิต



                                เพือนออกนำเสนอเกมที่เกี่ยวกับพีชคณิตเพื่อนๆได้ร่วมเล่นเกม

       กลุ่มที่ 3 การวัด






   กลุ่มที่ 4 เรขาคณิต




  กลุ่มที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น




   วันนี้ทำกิจกรรมในชั้นเรียน
 - ให้นักศึกษาวาดวงกลมแล้วเขียนเลขที่ตนชอบ 0-9 เลือกมาหนึ่งตัวเลข
 - คำสั่งคือให้วาดรูปดอกไม้และกลีบดอกไม้ตามจำนวนที่เขียน
 - ตัวเลขที่ดิฉันเขียนคือเลข 8 ได้วาดกลีบดอกไม้ทั้งหมด 8 กลีบ  
   
        ออกเป็นผลงานดังนี้









ควมรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้ 

- ได้ประดิษฐ์ผลงานทางคณิตศาสตร์เอง
- กิจกรรมนี้ก็จะสอนเรื่องความน่าจะเป็นได้สุ่มเดาว่าต้องเขียนตัวเลขจำนวนเท่าใด 
- ได้แก้ปัญหาด้วยตนเอง
- จะนำความรู้ที่ได้นำไปใช้ในคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย














บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30-12:20


                          เวลาเข้าสอน 08 : 30 เวลาเข้าเรียน 08 : 25 เวลาเลิกเรียน 11.00

         
     วันนี้รายงานหน้าชั้นเรียนมีทั้งหมด 5 กลุ่ม ดังนี้

1.จำนวนและการดำเนินการ

2.การวัด

3.เรขาคณิต

4.พีชคณิต

5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
 กลุ่มที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

  สาระการเรียนรู้ จำนวนและการดำเนินการ

- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดู อารบิก และตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดู อารบิก และตัวเลขไทย
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวนการรวมและการแยกกลุ่ม
- การรวมสิ่งต่างๆ สองกลุ่มที่มีผลรวมได้เกิน 10
- การแยกกลุ่มย่อมออกจากกลุ่มใหญ่

 จำนวนและการนำเนินการ


            จำนวน  การนับ  การเปรียบเทียบจำนวนการเรียงลำดับจำนวน  อันดับที่  ตัวเลข วิธีการแสดงจำนวนมีหลายวิธี  ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวน การรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม

รูปภาพที่นำสนอ


 ******* กลุ่มของฉันมีการนำเสนอ vdo เกี่ยวกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
   

 กลุ่มที่ 2  การวัด 
  คุณสมบัติของสิ่งต่างๆเกี่ยวกับการวัดความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร วิธีการวัดและหน่วยการวัดไม่เป็นมาตรฐาน   การเปรียบเทียบความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร การเรียงลำดับความยาว  น้ำหนัก  ชนิดและค่าของเงิน  เวลา

รูปภาพที่นำเสนอ 

             
      
ควารู้เพิ่มเติม .....

       การวัด  คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการการจับเวลา /การวัดระยะทาง / การชั่งน้ำหนักหรือการตวง เราเรียกวิธีการซึ่งใช้ข้างต้นรวม ๆ กันว่าการวัด เช่นการชั่งน้ำหนัก เรียกว่า การวัดน้ำหนัก การตวง เรียกว่า การวัดปริมาตร
   หน่วยการวัด คือ การบอกปริมาตรที่ได้จากการวัดต้องมีหน่วยการวัดจะใช้ตามระบบหน่วยสากล(International System of Unit) ซึ่งเรียกโดยย่อว่า หน่วย IS เช่น กรัม กิโลกรัม มิลลิกรัม เมตร กิโลเมตร วินาที ฯลฯ  
        การเลือกหน่วยในการวัดควรให้เหมาะสมกับสิ่งที่ใช้วัดเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและการอ่านค่าจากการวัด อาจทำให้ค่าการวัดคลาดเคลื่อนได้ ค่าที่ได้จากการวัดจึงถือเป็นค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
    การบอกค่าประมาณของปริมาณของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ได้วัดจริง  เรียกว่า  การคาดคะเน
หน่วยรากฐานของระบบ  SI  มี  7  หน่วยที่ใช้วัดปริมาณมูลฐาน  ( basic  quantity ) ได้แก่
เมตร         ( Meter : m )                                   เป็นหน่วยใช้วัดความยาว
กิโลเมตร ( Kilogramme : kg )                          เป็นหน่วยใช้วัดมวล
วินาที      ( Second : s )                                    เป็นหน่วยใช้วัดเวลา
แอมแปร์  ( Ampere : A )                                 เป็นหน่วยใช้วัดกระแสไฟฟ้า
เคลวิน     ( Kelvin : K )                                    เป็นหน่วยใช้วัดอุณหภูมิ
แคนเดลา ( Candela : cd )                                เป็นหน่วยใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง
โมล        ( Mole : mol )                                    เป็นหน่วยใช้วัดปริมาณของสาร

  เครื่องมือที่ใช้ในการวัด และการอ่านค่าจากการวัด อาจทำให้ค่าการวัดคลาดเคลื่อนได้ ค่าที่ได้จากการวัืด
   จึงถือเป็นค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงการบอกค่าประมาณของปริมาณของสิ่งต่างๆ โดยไม่ได้วัดจริง
เรียกว่า  การคาดคะเน                                            
*****   เครื่องมือเกี่ยวกับการวัด



 กลุ่มที่ 3 รูปทรงเรขาคณิต

             รูปเรขาคณิตสองมิติ-รูปวงกลมรูปสามเหลี่ยมรูปสี่เหลี่ยม  และรูปเรขาคณิตสามมิติ  ทรงกลม  ทรงสี่เหลี่ยม กรวย   ทรงกระบอก  ลักษณะและคุณสมบัติของรูปเรขาคณิตสองมิติและรูปเรขาคณิตสามมิติ  การเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิต  การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากรูปเรขาคณิต

รูปภาพการนำเสนอของเพื่อนๆ
 ให้เพื่อนๆร่วมเล่นเกม


ความรู้เพิ่มเติมรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ



กลุ่มที่ 4 พีชคณิต

          พีชคณิต คือ  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์  การแก้ปัญหา โดยใช้สมการคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และ โครงสร้างของระบบจํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย 

นำเสนอหน้าชั้นเรียน



ความรู้ที่ได้รับ

ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแบบรูป และอธิบายความสัมพันธ์ได้


กลุ่มที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น     

ความน่าจะเป็นของเด็ก

- มีกล่องอยู่ 1 ใบ ใส่ตุ๊กตาหมี 5 ตัว ในกล่อง

- ตุ๊กตา 5 ตัว สีแตกต่างกันออกไป สีแดง สีนำเงิน

- ครูจะให้เด็กคิดว่าจะหยิบตุ๊กตาได้สีอะไร

เพื่อนๆนำเสนอหน้าชั้นเรียน


  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  
 -เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
-ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ อย่างสมเหตุสมผล
-ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
     


ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
- สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอน
-มีความรู้ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ครูปฐมวัยมากขึ้น
-สามารถนำตัวอย่างเกมของเพื่อนมาประดิษฐ์เป็นสื่อการเรียนการสอนเด็กอนุบาลในอนาคต
-มีความสนุกในการเล่นเกมกับเพื่อน
- ทำงานเป็นกลุ่ม
- สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว
-  ได้ร่วมให้คะแนนเพื่อน ๆ





วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 08.30-12:20


                          เวลาเข้าสอน 08 : 30 เวลาเข้าเรียน 08 : 25 เวลาเลิกเรียน 11.00 

    
   จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

      - เพื่ิอให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การรู้จักคำศัพท์
      - เพื่อให้พัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ
  - เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
      - เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
      - เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
      - เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

       1. การสังเกต (Observation)
      - การใช้ประสทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
      - โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของ
       2. การจำแนกประเภท (Classifying)
      - การแบ่งประเภทของสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในกรแบ่งขึ้น
      - เกณฑ์ในการจำแนก คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ 
****  เกณฑ์ที่เด็กจะแบ่งนั้นขึ้นอยู่กับบุคคล
       3. การเปรียบเทียบ (Comparing)
       - เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
       4. การจัดลำดับ (Ordering)
       - เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
       - การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
       5. การวัด (Measurement)
      - มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
      - กรวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะททาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ 
  **** การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยในการวัด
       6. การนับ (Counting)
     -  เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
     - การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมยต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง 
       7.  รูปทรงและขนาด (Sharp and size ) 
     -  เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนที่จะเข้าโรงเรียน
          
  ***** ชมวิดีโอการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                                           กิจกรรมที่ทำในชั้นเรียน




            ก่อนที่จะเดินทางมามหาวิทยาลัยเดินผ่านอะไรมาบ้าง ให้วาด 3 อย่างที่เดินผ่านมา มีร้านอาหาร , ร้านขายผลไม้ , ร้านขายหมูปิ้ง
  
 จากการชมวิดีโอ : ทำให้เราทราบวิธีการสอนเด็กได้ง่ายขึ้น และควรที่จะปลูกฝังเด็กให้เด็กคิดว่าคณิตนั้นง่าย และสอนคณิตจากการเล่น เช่น เอาตุ๊กตามาให้เด็กนับ เพราะเด็กยังไม่รู้สิ่งที่เป็นนามธรรม ครูก็ถามเด็กว่าตุ๊กตามีกี่ตัว เขาก็จะตอบโดยการชี้นิ้วตอบครู แล้วก็จัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้งให้มีคณิตด้วย  เด็กจะได้มีความสนุกสนานมากขึ้นและอยากที่จะเรียนคณิตดังนั้นเราควรที่จะสอนให้ เขาเข้าใจคณิตที่แท้จริงไม่ใช่จากการท่องจำ




              
                                  .................................................................................................

  

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30-12:20
                          เวลาเข้าสอน 08 : 30 เวลาเข้าเรียน 08 : 25 เวลาเลิกเรียน 11.00 

                ความหมายของคณิตศาสตร์
             
          ระบบการคิดของมนุษย์เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์การพูด การเขียน

                 ความสำคัญของคณิตศาสตร์
         
 - เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
 - ส่งเริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
 - เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงานและประเมินผล
 - เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้วิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
           ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตารมแนวคิดของ Piaget
  1.)  ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimoto  stage) แรกเกิด - 2  ปี
  - เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่าง ๆ
  - สามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ บอกคุณลักษณะของวัตถุได้
  2.) ขันเตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational stage)  2-7 ปี
  - ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
  - เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง และความยาว
  - เล่นบทบาทสมมติซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น
 * - เด็กวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสื่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
      การอนุรักษ์ (Conservation)


                                                



     แก้วที่ 1                                 แก้วที่ 2  

เด็กเห็นขนาดเท่ากัน
                              
        

     
                                  +     

                                                  ก้อนที่ 1                                   ก้อนที่ 2


 เด็กเห็นขนาดที่ไม่เท่ากัน
 เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย

 - โดยการนับ
 - การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
 - การเปรีบเทียบรูปทรง ปริมาตร
 - เรียงลำดับ
 - จัดกลุ่ม
 หลักการการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหไรับเด็กปฐมวัย
 - เปิดโอกาสได้พูดคุย
 - ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่น
 - ใช้คำถารมปลายเปิด
          
                                                          ภาพกิจกรรม
                                                                                                                                                                                        



                             
                                                 วาดรูปสัตว์ที่มีจำนวนเท้าที่มาก

   ความที่ได้รับ
                รู้ความหมายและความสำคัญของวิชาตณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และเรียนรู้การอนุรักษ์จากการทำกิจกรรมวันนี้ทำให้รู้วิธีการนำไปใช้กับเด็กปฐมวัย ทำให้เด็กสนุกสนามและรู้จักการนับจำนวนจากเท้าของสัตว์ และรู้ขาดรูปทรง รูปร่าง ของสัตว์ต่าง ๆ