นางสาวมนสิชา ศิลปสิทธิ์

นางสาวมนสิชา ศิลปสิทธิ์

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

  บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี 15 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 08.30-12:20


                          เวลาเข้าสอน 08 : 30 เวลาเข้าเรียน 08 : 25 เวลาเลิกเรียน 11.00

   วันนี้ได้ทำนิทาน  Big book กับเพื่อน ๆ อีกครั้ง แต่ครั้งนี้ในนิทานต้องเกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิต มี วงกลม สามเหลี่ม สี่เหลี่ยมให้สอดคล้องกับวิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

เพื่อน ๆ ช่วยกันแต่งนิทาน


นิทาน ลูกหมูเก็บฟืน

          กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม   ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่ หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า  หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปที่ทำงานซึ่งไกลมาก   หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงาน  หมูที่อยู่บ้านหลังวงกลมเดินทางไปเก็บฟืนในป่า  ซึ่งในป่ามีฟื้นเยอะแยะเลย เจ้าหมู 2 ตัวนี้ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยเก็บฟืนในป่า   หมูทั้ง 6 ตัวช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้มีทั้งหมด 10 ท่อน  แล้วหมูก็นำฟืนสามท่อนไปจุดไฟเพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน  และหมูก็นำฟืน 7 ท่อนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป


กลุ่มที่ 7 หมูทั้ง ตัวช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้มีทั้งหมด 10 ท่อน 


ช่วยกันวาดรูป










เพื่อน ๆ ออกไปเล่านิทาน



 ผลงานของทุกกลุ่มที่ได้




  ประโยชน์ที่ได้รับ/ความรู้ที่นำไปใช้

-  ฝึกให้เด็กเกิดความสามัคคี ช่วยกันคิดและแก้ไขปัญหาภายในกลุ่ม

-  ให้เด็กเรียนรู้รูปทรงเรขาคณิตจาก นิทาน

- เด็กรับความรู้จากนิทานว่านิทานเรื่องนี้สอนอะไร





วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี 8 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30-12:20


                          เวลาเข้าสอน 08 : 30 เวลาเข้าเรียน 08 : 25 เวลาเลิกเรียน 11.00

      วันนี้เหมือนเปิดเทอมวันแรกเลย เพราะขึ้นปีใหม่ พ.ศ.2557 ก็ต้องเริ่มวันใหม่ ๆ .....

วันนี้อาจารย์เบียร์สอนเรื่อง 'กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย'

 เรียนเรื่องนี้พอสรุปเนื้อหาได้ดังต่อไปนี้  .............
 เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ ?


   ** ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา

**** ให้เด็กเรียนรู้แค่เพิ่มขึ้นและลดลง


 ลดลง
  เพิ่มขึ้น        


 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้  

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ

สาระที่ 2 : การวัด

สาระที่ 3 : เรขาคณิต

สาระที่ 4 : พีชคณิต

สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

**** เด็กเรียนรู้แค่ 5 สาระ       
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย ....
1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical thinking)
-จำนวนนับ 1 ถึง 20
-เข้าใจหลักการการนับ
-รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-รู้ค่าของจำนวน
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
-การรวมและการแยกกลุ่ม
2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
-รู้จักเงิน เหรียญ และธนบัตร
-เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา เช่น กลางวัน กลางคืน
3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
**** เด็กจะเรียนรู้รูปเรขาคณิตสองมิติก่อนสามมิติ
4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

 

                                                                  .............   ..............  ต่อไปจะเป็นอะไร ?


5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
               
       *** ต้องเป็นอนุบาล 3 ขึ้นไป ..........

6. มีสาระมีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
 
       การวัด การนับ การเปรียบเทียบ  การเรียงลำดับ

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้



สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

 มาตรฐาน ค.. 1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายขอการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

จำนวน

-         -  การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-         -  การอ่านตัวเลขฮินดู อารบิก และตัวเลขไทย
-         -  การเปรียบเทียบจำนวน
-         -  การเรียงลำดับจำนวน
     - การรวมและการแยกกลุ่ม
-          - ความหมายของการรวม
-          - การรวมสิ่งต่างๆรวมกันทีมีผลรวมไม่เกิน 10
-          - ความหมายของการแยก
-          - การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10

สาระที่ 2 การวัด

-          มาตรฐาน ค..2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาวน้ำหนักปริมาณ เงินและเวลา

    - ความยาว / น้ำหนักและปริมาตร
-         - การเปรียบเทียบ / การวัด /การเรียงลำดับความยาว
-         - การเปรียบเทียบ/การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
-         - การเปรียบเทียบ / การตวง

      เงิน

-       ------   ชนิดและค่าของเงิน  เหรียญและธนบัตร

    เวลา

-          - ช่วงเวลาแต่ละวัน
-          - ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน

สาระที่ เรขาคณิต

-          มาตรฐาน ค. ป. 3.1 รู้จักใช้คำที่ใช้ในการบอกตำแหน่ง
-          มาตรฐาน คป .3.2 รู้จักจำนวนรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

- ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
-     - การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆ
- รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
-     - ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
-     - รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
-     - การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิต สองมิติ
-     - การสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติการเปลี่ยนรูปแบบรูป  รูปเรขาคณิต

สาระที่ 4 พีชคณิต

-          รูปแบบของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหึ่ง

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

-          มาตรฐาน ค..5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมการเก็บรวบรวม

สาระที่ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

-          การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์อื่นๆ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

                  ผลงานวันนี้

   

           โจทย์ ...   อาจารย์ให้เลือกรูปเรขาคณิตที่เตรียมไว้ให้ มี วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจตุรัส แล้วให้นักศึกษาเป็นคนเลือก คนละ 1 รูป

       #    พอเลือกเสร็จแร้วอาจารย์บอกว่าให้นักศึกษาวาดรูปสัตว์  แต่ดิฉันเลือกวงกลมมาถือว่าวาดได้ง่าย แต่เพื่อนที่นั่งอยู่ข้าง ๆ กลับเลือกรูปสามเหลี่ยมออกมาเป็นผลงานดังนี้ ...


 ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

- ได้เรียนรู้ว่าเด็กเรียนคณิตศาสตร์แบบเพิ่มขึ้นและลดลง
 เด็กจะเรียนรู้รูปเรขาคณิตสองมิติก่อนสามมิติ
- ให้เด็กเรียนรู้สิ่งที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น รู้คุณค่าของเงิน มาก และ น้อย
- ต้องสอนให้เด็กเรียนรู้เวลา กลางวัน กลางคืน